เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำไมจึงถูกเรียกว่าเพลงเพื่อชีวิต

Why was it called a song for life?

บทเพลงเพื่อชีวิตในประเทศไทยถือกำเนิด ในปี พ.ศ. 2480 ในยุคแรกผู้คนใช้บทเพลงเป็นภาพสะท้อนความอดอยากของผู้คน ที่มาจากการโกงกินของนักการเมือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 เป็นยุครุ่งเรืองของเพลงเพื่อชีวิต ในขณะเดียวกันก็มีการปิดกั้นเพลงบางเพลงด้วยการสั่งห้ามไม่ให้ออกอากาศ โดยฝีมือของรัฐบาลทหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม นอกจากนี้สถานีวิทยุบางสถานีก็โดนสั่งปิดไปอย่างไร้เหตุผล แต่อะไรที่ยิ่งถูกห้าม คนก็ยิ่งขวนขวายอยากหามาฟัง ด้วยเหตุนี้เทปกับแผ่นเสียงจึงขายดีมาก

ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นช่วงเวลาแตกหักของประเทศไทย ประชาชนแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายความคิดก้าวหน้า โดยมีนิสิต-นักศึกษาเป็นแกนนำ ส่วนฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้แก่ ข้าราชการ, ทหาร, นักเรียนอาชีวะ ตลอดจนลูกเสือชาวบ้าน เกิดเหตุการณ์ปิดล้อมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้เกิดการสังหารหมู่อย่างเหี้ยมโหด นำไปสู่การหลั่งเลือดท่วมแผ่นดิน มีการยึดอำนาจทางการเมืองโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน อันมีพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้า

อีกทั้งยังมีการจำกัดเสรีภาพทางความคิดอย่างมาก มีการตรวจสอบสิ่งพิมพ์พร้อมออกรายชื่อหนังสือห้ามอ่าน จำนวน 204 รายการ มีการควบคุมสื่อมวลชนอย่างเข้มงวด ทำให้บรรยากาศในช่วงนั้นเต็มไปด้วยความอึมครึม

ในพ.ศ.2520 มีการออกนโยบายผสมผสานระหว่างการเมืองแบบเก่า กับการเปลี่ยนแปลง และก็มีการเปิดช่องทางให้แสดงออกในรูปแบบของการเลือกตั้ง ,รัฐสภา , วุฒิสมาชิก ส่วนใหญ่เป็นทหาร นอกจากนี้รัฐบาลก็ตรวจสอบสื่อมวลชนน้อยลง มีเสรีภาพในการจัดรายการมากขึ้น มีการแสดงออกถึงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างเปิดเผย ทำให้เพลงเพื่อชีวิตกลับมาอีกครั้ง โดยวงดนตรีโดดเด่นที่สุด คือ วงแฮมเมอร์ และวงฟ้าสาง พวกเขาสะท้อนให้ผู้ฟังเห็นสภาพสังคมโดยเฉพาะความอดอยากในภาคอีสาน นอกจากนี้ก็ยังวงดนตรี ชื่อ ชีวี ที่มุ่งเน้นในเรื่องของการตอกย้ำอุดมการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา ใช้เสียงเพลงเพื่อปลุกสำนึกเน้นย้ำอุดมการณ์ รวมทั้งเป็นระบายความรู้สึกอันเศร้าสลด

จากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาบรรดาศิลปินผู้ขับขานบทเพลงเพื่อชีวิตที่ยืนหยัดต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยร่วมกับ นักเรียน-นักศึกษา, ประชาชน ต่างแตกตัวกระจัดกระจาย หนีไปลี้ภัยจากคณะปฏิรูปปกครองแผ่นดิน เข้าไปยังป่า-เขา, ซึ่งเป็นพื้นที่ปักหลักของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปรสภาพไปเป็นศิลปินปฏิวัติ ด้วยเหตุนี้เพลงเพื่อชีวิตในช่วงสภาวะนี้ จึงต้องกลายเป็นเพลงปฏิวัติ

โดยศิลปินเพื่อชีวิตในยุคนั้นเกือบทั้งหมดเป็นนักศึกษาทั้งสิ้น ไม่มีวงดนตรีที่เป็นวงอาชีพ ยกเว้นแต่ วงคาราวานที่ยังคงยืนหยัดเป็นรูปวงสมบูรณ์พร้อม แตกต่างจากวงอื่นๆ ที่หนีการจับกุมเข้าป่าบ้าง หรือเกาะกันเป็นกลุ่มเล็กๆ บ้าง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำไมจึงถูกเรียกว่าเพลงเพื่อชีวิต 0 100 0